วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง Model แก้ไข EL ในอนาคตที่รอคอย...

                   
              ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร จัดประชุมปรึกษาหารือหาข้อสรุปกับปัญหาแมลงสัตรูพืชที่ถูกแจ้งเตือนมาจากสหภาพยุโรป ในปี ๒๕๕๖ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พบหนอนแมลงผลไม้ใน ฝรั่ง ๑๑ ครั้ง ชมพู่ ๙ ครั้ง และมะม่วง ๑ ครั้ง สหภาพยุโรปแจ้งให้หามาตรการแก้ไข มิฉะนั้นอาจจะเป็นเหตุให้ผลไม้ทั้ง ๓ ชนิด เข้าสู่มาตรการห้ามน้ำเข้าหากตรวจพบ ๕ ครั้งภายใน ๑ ปี เป็นประเด็นหลักในการประชุมในวันนั้น
              กรมวิชาการเกษตรในฐานะผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลมาตรการระหว่างรัฐกับสหภาพยุโรป จึงจัดประชุม ผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุ และกลุ่มเกษตรที่รวมตัวเป็นโรงคัดบรรจุ หาทางออกและแนวทางการแก้ไข ผลไม้ทั้งสามชนิดให้สามารถปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ได้
                ผลไม้ทั้ง ๓ ชนิดถูกหยิบยกมาพูดคุยในการประชุมหลายครั้ง พยายามหาทางแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง สมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ โดยคุณพจน์ เทียมตะวัน ในฐานะนายกสมาคมได้แจ้งเตือนผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าผลไม้ทั้ง ๓ ชนิดโดยเฉพาะประเทศที่มีความเข้มงวดให้เพิ่มความระมัดระวังมาอย่างต่อเนื่อง แต่แนวทางโดยภาพรวมอาจจะถูกนำเข้าสู่มาตรการ ELได้หากยังไม่หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
      หลังจากการประชุมในวันนั้น ได้ข้อสรุปชัดเจนว่า จะไม่นำเข้าสู่ระบบ EL เป็นครั้งแรกที่แนวทางแก้ไข ผ่านขบวนการขอความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุ และกลุ่มเกษตรกร ที่มีความเห็นตรงกันว่า ELเป็นมาตรการที่มีหลักการและเหตุผลที่ดี แต่ไม่สามารถปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ได้
                ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ยกมือสนับสนุนคัดค้าน การนำผลไม้ทั้ง ๓ ชนิดเข้าสู่มาตรการควบคุมพิเศษ EL คำถามที่ตามมาคือ แล้วมีมาตรการอะไรมารองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่แนวโน้มในการตรวจพบศัตรูพืชในผลไม้ทั้ง ๓ ชนิด เพิ่มมากขึ้น เมื่อครบ ๑ ปี หากปริมาณยังพบมากขึ้น อาจจะนำไปสู่มาตรการห้ามนำผลไม้ดังกล่าวเข้าสหภาพยุโรปเมื่อตรวจพบปลายทาง ๕ ครั้ง และมาตรการ EL อาจถูกนำมาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
                   การตั้งประเด็นคำถามต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ถูกนำเสนอในหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมในเชิงพาณิชย์ได้ โดยสรุปแยกผลไม้ ๓ ชนิดที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
                      ฝรั่ง และชมพู่ ปัญหาพบหนอนแมลงผลไม้บ่อยครั้ง สืบเนื่องจาก ผลไม้ทั้งสองชนิดเกษตรกรห่อผลยังไม่ถูกวิธี แมลงผลไม้สามารถเจาะและวางไข่ได้ ดังนั้น การปรับปรุงแก้ไขที่สามารถนำมาใช้ได้นั้น โดยใช้มาตรการเดียวกันกับกรณีปัญหาที่พบแมลงผลไม้ในชมพู่และฝรั่งที่ส่งออกไปยังประเทศมาเลย์เชีย และถูกห้ามนำเข้า เกษตรกรจำนวนมากที่ผลิต และส่งขายตลาดดังกล่าวเดือดร้อน ภาครัฐจึงหาแนวทางการแก้ไข โดยกำหนดให้เกษตรกรที่มีศักยภาพที่มีโรงคัดบรรจุ รวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อพัฒนาระบบการผลิต และให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต และโรงคัดบรรจุของกรมวิชาการเกษตร สร้างเป็นรูปแบบที่ชัดเจน ดำเนินการโดยกลุ่มเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันเอง และเสนอกรมวิชาการเกษตรให้ตรวจรับรองมาตรฐาน จนในที่สุดเป็นยอมรับของผู้นำเข้า ชมพู่ และฝรั่ง ของกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวจึงถูกนำมาเป็นรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ ด้วยเหตุผล ง่าย ๆ ตามตรรกะของการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ๓ ประการ คือ
1.    รวมกลุ่มเกษตรกันเอง เพื่อพัฒนาผลผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด และพัฒนาโรงคัดบรรจุให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องดำเนินการและเข้าไปดูแลรับผิดชอบ
2.   กลุ่มเกษตรกร สามารถกำหนดราคา และรับรองสินค้าโดยจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรโดยตรงและสามารถขายให้กับผู้ประกอบการตามกำลังการผลิต สามารถวางแผนการขาย ให้สอดคล้องกับการผลิตที่ชัดเจน แน่นอน
สามารถวางแผนการผลิต ขยายพัฒนากำลังการผลิตอย่างมีระบบและสามารถควบคุมให้เป็นไปตาม มาตรฐานกรมวิชาการเกษตร คู่ขนานกับผู้ประกอบการที่ต้องพัฒนาโรงคัดบรรจุ ให้เกิดความเชี่ยวชาญในการคัดบรรจุไปพร้อมกัน
      จากสามประเด็นดังกล่าวกลุ่มเกษตรมีหน้าที่ผลิตภายใต้เงื่อนไขการควบคุมของกรมวิชาการเกษตร ที่แยกออกจากการดูแลจากผู้ประกอบการ พัฒนาคู่ขนานไปกับผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุ อยู่ภายใต้ระบบที่ควบคุมดูและจากกรมวิชาการเกษตร และเปิดโอกาสให้สามารถจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการได้หลากหลายเพื่อขยายฐานการผลิตที่ตนเองชำนาญให้เพียงพอต่อความต้องการ
     ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นดีด้วยกับรูปแบบการผลิต ที่จะพัฒนาความรู้ ความชำนาญให้กับเกษตรกรโดยตรง เพราะการผลิตสินค้าเกษตร ต้องอาศัย ความรู้ ความชำนาญ ทักษะ ประสบการณ์ ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ความมั่นคง และแรงจูงใจ ในการเพิ่มจำนวนและขยายฐานการผลิตอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการที่หลากหลาย และมากพอในการลงทุน
    ผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุ มีหน้าที่พัฒนาการบรรจุตามระบบ ให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาตลาด การขยายตลาด บริการหลังการขาย ซึ่งเป็นด่านหน้าที่สำคัญในการขายสินค้าและบริการให้กับประเทศ และต้องการดูแลเป็นพิเศษในท่ามกลางการแข่งขันจากทั่วโลก โดยที่ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ในการพัฒนาแปลงผลิตที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์ และทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน ในการผลิตให้มีคุณภาพ เหมือนที่เป็น ปัจจุบันรายชื่อโรงคัดบรรจุที่ยื่นขอการรับรองกับกรมวิชาการเกษตร และสามารถรองรับให้กับผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุ ได้ มี ๔ ราย 
              1.  ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุในนาม นายเดชาธร ไทยสนธิ สามารถผลิตชมพู่ ๕,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน และสามารถผลิตฝรั่ง ,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน รวมปริมาณการผลิตชมพู่และฝรั่งประมาณ ,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน ที่อยู่โรงงาน 57 .10 .แพงพวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โทรศัพท์ 086-979-6789 โทรสาร 032-365-313
      2. บริษัท เอ็น. ที. เอส. ฟรุตท์ จำกัด สามารถผลิตชมพู่ ,๐๐๐-,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน และสามารถผลิตฝรั่ง ,๐๐๐-,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน รวมปริมาณการผลิตชมพู่และฝรั่งประมาณ ,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน ที่อยู่โรงงาน 43 .6 .ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โทรศัพท์ 081-848-8475 โทรสาร 02-9920425
        3. ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุในนาม นางประภัสสร สุขเกษม สามารถผลิตชมพู่ ๓,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน และสามารถผลิตฝรั่ง ,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน รวมปริมาณการผลิตชมพู่และฝรั่งประมาณ ,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวันที่อยู่โรงงาน 139 .3 .ดอนไผ่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โทรศัพท084-725-4217 โทรสาร 032-245-807
          4. ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุในนาม นายบุรี อยู่แก้ว สามารถผลิตชมพู่ ๓,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน และสามารถผลิตฝรั่ง ,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน รวมปริมาณการผลิตชมพู่และฝรั่งประมาณ ,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวันที่อยู่โรงงาน 258 . 2 .ดอนกรวย .ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โทรศัพท์ 081-984-6658 โทรสาร 032-253624
             หากใครประสงค์ที่จะเป็นผู้ผลิตเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ หรือผู้ประกอบการรายใดที่มีขีดความสามารถสร้างกลุ่มเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ และเป็นมืออาชีพ ยื่นขอการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรก็สามารถทำได้มะม่วง ถือเป็นรูปแบบที่ชัดเจนนานกว่า ๑๕ ปี ดังนั้นกลุ่มมะม่วงถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากการถูกปฏิเสธการนำเข้าประเทศญี่ปุ่นเพราะพบสารพิษตกค้างและแมลงศัตรูพืช จึงมีการพัฒนาและหาทางแก้ไขจากภาครัฐอย่าต่อเนื่อง เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และเครือข่ายชัดเจน มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าชัดเจน  มีการวางแผนการผลิต การกำหนดราคา การคัดคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ                      
มะม่วงเป็นตัวอย่างการพัฒนาของกลุ่มเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง ต้องการแก้ปัญหาที่หลายประเทศมีกฎระเบียบที่แตกต่างกันแต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน นับตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นจุดเริ่มต้น  เกาหลี จีน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
มะม่วงจึงเป็นรูปแบบที่ผลไม้ต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเงื่อนไข กระแส และมาตรการกีดกันทางการค้า สามารถแก้ไขให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ สามารถต่อสู่กับคู่แข่งขันในตลาดโลกได้ในเชิงพาณิชย์
               ปัญหาของมะม่วง เกิดจากมะม่วงบางชนิดที่ไม่ได้พัฒนาตามรูปแบบตามมะม่วงน้ำดอกไม้ ทั้งทวายเบอร์ สี่ และน้ำดอกไม้สี่ทอง แต่กลับเป็นมะม่วงที่บริโภคในประเทศ และส่งออกบางชนิดที่มีข้อจำกัดในเรื่องรูปลักษณ์ สีสัน เช่น มะม่วงยำ ต้องการมะม่วงอ่อน สีเขียวเข้ม เพื่อไปทำยำ หรือสลัด ขายในประเทศ และบางส่วนถูกขายไปต่างประเทศ มะม่วงเขียวเสวย ที่ต้องบริโภคสด ผิวสีต้องเข้ม จึงไม่ห่อผล มะม่วงมหาชนกที่ต้องการสีแดง มะม่วงทั้งสามชนิดดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหา  ที่เป็นปัญหามากคือมะม่วงยำที่เก็บจากนอกห่อ ดังนั้นการแยกชนิด และการควบคุมจากแปลงจึงสามารถทำได้ไม่ยากนัก ผู้ประกอบการที่ส่งมะม่วงชนิดนี้ และส่งไปประเทศที่เข้มงวด ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการคัดก่อนบรรจุอย่างละเอียดพิถีพิถัน เพื่อป้องกันการตรวจพบที่หน้าด่าน และปลายทาง
               ฝรั่ง ชมพู่ มะม่วง สามารถนำมาเป็นรูปแบบแม่บท  การแยกส่วนกลุ่มเกษตรกร พัฒนาคุณภาพให้ตรงกับความต้องการของสหภาพยุโรป ด้วยการสร้างกลุ่มเกษตรกรที่มีทักษะความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน ภายใต้เงื่อนไขของสหภาพยุโรป และกฎระเบียบของกรมวิชาการเกษตร สร้างเครือข่ายการผลิตที่มีมาตรฐานคุณภาพ เดียวกัน ขยายฐานการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ ตั้งราคาให้เหมาะสม เป็นรูปแบบกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ จัดทำแผนการผลิตให้ชัดเจน ทำคู่ขนานกับผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุ ที่ต้องพัฒนาระบบ ภายใต้เงื่อนไข และกฎระเบียบของกรมวิชาการเกษตรเช่นกัน ให้เกิดความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ในการขายผลผลิตที่มีคุณภาพ และบริการ ก่อน และหลังการขยายแบบมืออาชีพ เป็นทัพหน้าสร้างรายและประชาสัมพันธ์ให้ประเทศท่ามกลางการแข่งขันของตลาดโลก สองทางคู่ขนานที่พัฒนาร่วมกัน ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง จึงเป็น Model แก้ไขปัญหา EL ในอนาคตที่รอคอย...
................................................................................................................